ยินดีต้อนรับ



วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน






สัปดาห์ที่ 17
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ 2556

กิจกรรม

**หมายเหตุ  เรียนชดเชยวันที่อาทิตย์** อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์ 3 อย่าง นำเสนอสื่อ 1 อย่าง


สื่อของเล่น


เรือพลังยาง
อุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์
·       ไม้ไอติม
·       ยาง
·       กระดาษสี

ขั้นตอนการประดิษฐ์
·       นำไม้ไอติมที่เตรียมไว้มาต่อกันให้เป็นรูปแบบเรือที่เราต้อง ท้ายเรือต้องทิ้งช่องว่างระหว่างสองข้างไว้เพื่อใส่ใบพัดเรือ
·       นำยางที่เตรียมไว้มามัดเข้าระหว่างท้ายเรือสองข้าง
·       ตรงกลางของยางที่รัดท้ายเรือให้ใส่ใบพัดเรือที่เตรียมไว้   แล้วหมุนใบพัดจนยางรัดบิดพอที่เคลื่อนที่ได้
·       ปล่อยใบเรือที่หมุน  แล้วเรือก็จะแล่นตามแรงบิดของยาง

สิ่งที่เกิดขึ้น

เรือพลังยางประเภทนี้มีหน่วยกำลังขับในตัวเอง โดยใช้แรงบิดจากการคลายตัวของยาง มาหมุนใบพัด เพื่อสร้างแรงฉุด หรือผลัก ให้เรือจำลองเคลื่อนที่ เป็นเรือพลังยางที่ลอยได้อย่างอิสระ ไม่มีระบบวิทยุบังคับและกลไกใดๆ ในการบังคับควบคุมการวางตัวของเรือ ทิศทางการลอย ระดับความเร็ว ในขณะที่กาลังลยอยู่บนอผิวน้ำ




บันทึกการเรียน






สัปดาห์ที่ 17
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ 2556

กิจกรรม


 *วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการเข้าครัวทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์เมื่อสัปดาห์แล้ว

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking (ไข่ตุ๋นแฟนซี)


  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำไข่ตุ๋น ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า


  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา?
  3.  ครูแนะนำวัตถุดิบให้เด็กฟัง


  4.   ครูให้นักเรียนอาสาสมัครออกมาหั่นผักและก็ปูอัดทีละคน ผักที่จะหั่นได้แก ผักชี ต้นหอมแครอท..โดยที่คุณครูเฝ้าาสังเกตการหั่นผักแต่ละชนิดของเด็กๆ



5.   เด็กๆ กับครูร่วมกันปรุงรสไข่ตุ่นกันอย่างสนุกสนาน ^^



ทักษะที่ได้รับ

1. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ

การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย





บันทึกการเรียน






สัปดาห์ที่ 16
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ 2556

กิจกรรม

**หมายเหตุ วันนี้มีเรียนชดเชย** แต่ดิฉันไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนชดเชยค่ะ

บันทึกการเรียน






สัปดาห์ที่ 15
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ 2556

กิจกรรม

*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

บันทึกการเรียน






สัปดาห์ที่ 14
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ 2556

กิจกรรม

                     **หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ**

บันทึกการเรียน




สัปดาห์ที่ 13
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม

ไปศึกษาดูงาน วันที่ 27-28  สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์




รร.สาธิตนครราชศรีมา


บรรยากาศลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์




บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 12
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม

**หมายเหตุ ไม่มีการเรียนนการสอน**

       -  มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 11
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม
  1. นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  255
  2. ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
  3. มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 10
วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม

โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

วันอังคาร ที่  13  สิงหาคม  2556 เวลา 13:00 - 16:30 น.

ณ  ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี

บรรยายพิเศษ  โดย  คุณมีชัย  วีระไวทยะ

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 9
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม


หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม 

"โครงการ กายงามใจดี ศรีปฐมวัย"

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 8
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ 2556



                         วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1


บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 7
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม

 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย สามารถคิดเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมที่ลงมือกระทำกับวัตถุ
  1. ความหมายทักษะการสังเกต  การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
  2. ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
  3. ความหมายทักษะการวัด  การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยหาหน่วยการวัดกำกับ
  4. ความหมายทักษะการสื่อความหมายการพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
  5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
  6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาการู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
  7. ความหมายทักษะการคำนวนความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การลวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
                         

บันทึกการเรียน




สัปดาห์ที่ 6
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม

** หมายเหตุ**  - เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์

อุปกรณ์
  • ไม้ไอติม
  • ยาง
  • กระดาษสี
ขั้นตอนการประดิษฐ์
  • นำไม้ไอติมที่เตรียมไว้มาต่อกันให้เป็นรูปแบบเรือที่เราต้อง ท้ายเรือต้องทิ้งช่องว่างระหว่างสองข้างไว้เพื่อใส่ใบพัดเรือ
  • นำยางที่เตรียมไว้มามัดเข้าระหว่างท้ายเรือสองข้าง
  • ตรงกลางของยางที่รัดท้ายเรือให้ใส่ใบพัดเรือที่เตรียมไว้  
  • แล้วหมุนใบพัดจนยางรัดบิดพอที่เคลื่อนที่ได้
  • ปล่อยใบเรือที่หมุน แล้วเรือก็จะแล่นตามแรงบิดของยาง

สิ่งที่เกิดขึ้น

เรือพลังยางประเภทนี้มีหน่วยกำลังขับในตัวเอง โดยใช้แรงบิดจากการคลายตัวของยาง มาหมุนใบพัด เพื่อสร้างแรงฉุด หรือผลัก ให้เรือจำลองเคลื่อนที่ เป็นเรือพลังยางที่ลอยได้อย่างอิสระ ไม่มีระบบวิทยุบังคับและกลไกใดๆ ในการบังคับควบคุมการวางตัวของเรือ ทิศทางการลอย ระดับความเร็ว ในขณะที่กาลังลยอยู่บนอผิวน้ำ

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 5
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ 2556
กิจกรรม



การทดลอง  เหรียญลวงตา




สิ่งที่ต้องใช้    
     
                        1.         เหรียญบาท 1 เหรียญ
                        2.         จานทึบแสง 1 ใบ
                        3.         โต๊ะ
                        4.         เทปกาว



วิธีทดลอง           
  • วางเหรียญบาทลงในจาน แล้วนำจานไปวางบนโต๊ะ
  • จ้องมองที่เหรียญบาทไว้พร้อมกับเดินถอยหลังช้าๆ จนขอบจานบังเหรียญจนมองไม่เห็น หยุดตรงตำแหน่งนั้นและติดเทปทำเครื่องหมายไว้บนพื้น
  • ใส่น้ำลงไปให้เต็มจาน
  • กลับไปยืนในตำแหน่งเดิมที่เราติดเทปไว้อีกครั้งหนึ่ง ลองมองซิเห็นเหรียญหรือเปล่า?

เพราะอะไรกันนะ
            ตำแหน่งที่เราติดเทปไว้คือตำแหน่งที่มองไม่เห็นเหรียญ..แล้วทำไมเมื่อเติมน้ำจึงมองเห็นได้?
คำเฉลยคือ “การหักเหของแสง” นั่นเอง หลักการมองเห็นของดวงตา คือ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนมาเข้าตาเรา ทำให้เราเห็นภาพนั้นๆ แต่ถ้าเรามองสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ เช่น ปลา เราจะมองเห็นมันอยู่ผิดไปจากตำแหน่งจริง เพราะแสงจะมีมุมในการหักเหเปลี่ยนไปเมื่อผ่านจากน้ำไปสู่อากาศ และการหักเหของแสง ยังทำให้เราเห็นน้ำตื้นกว่าความเป็นจริง
เมื่อใส่น้ำลงไปในจาน น้ำจะหักเหแสงที่สะท้อนจากเหรียญบาทมายังตาของเรา แสงทำให้เห็นน้ำตื้นกว่าความเป็นจริงเราจึงมองเห็นเหรียญได้ ณ ตำแหน่งเดิม



บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 4
วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ 2556

กิจกรรม
  • อาจารย์จินตนานำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"

สิ่งสำคัญสำหรับเด็ก
  1. กระบวนการ
  2. เด็กได้ลงมือทำกับวัตถุ
  3. ประสบการณ์เดิม
  4. สมอง
อาจารย์ให้ดูวิดีโอความลับของแสง

บันทึกการเรียน





สัปดาห์ที่ 3
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ 2556

กิจกรรม
  • อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง ความลับของแสง แล้วก็ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้รับจากวีดีโอ


การสะท้อนของแสง

  การสะท้อนแสง คือ การเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของแสงกลับมาสู่ตัวกลางเดิม เมื่อแสงเคลื่อนที่ไปถึงแนวเขตระหว่างตัวกลาง ตัวกลาง เช่น เมื่อแสงตกกระทบผิวของกระจก แสงจะสะท้อนที่ผิวกระจกกลับสู่อากาศ เป็นต้น เมื่อแสงตกกระทบผิวของวัตถุใดๆ โดยที่พื้นผิวของวัตถุนั้นไม่ดูดกลืนแสงไปทั้งหมด แสงส่วนที่เหลือจะสะท้อนออกจากผิววัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีผิวเรียบหรือผิวขรุขระ

 การหักเหของแสง( Refraction of Light )

         การหักเหแสงเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน  เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห และการหักเหจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้น    


    กฎการหักเหของแสง

   1.  รังสีตกกระทบ เส้นแนวฉาก และรังสีหักเห อยู่ในระนาบเดียวกัน
   2.  สำหรับตัวกลางคู่หนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างค่า sin ของมุมตกกระทบ ในตัวกลางหนึ่งกับ
        ค่า sin ของมุมหักเหในอีกตัวกลางหนึ่ง มีค่าคงที่เสมอ
 

ทักษะที่ได้รับ
     - ได้ทบทวนความรู้เดิมจาก VDO ความลับของแสง
     - ได้รู้ว่าแสงมีความเป็นมาอย่างไร ?

การนำไปประยุกต์ใช้
      - สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้
      - สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการทำสื่อให้เด็ก

บันทึกการเรียน




สัปดาห์ที่ 2
วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ 2556

กิจกรรม
องค์ความรู้ที่ได้รับ    
-  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน  แล้วสรุป ดังหัวข้อต่อไปนี้     
       
1.  ความหมายของวิทยาศาสตร์           
2.  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์   (หัวข้อกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย)           
3.  พัฒนาการทางสติปัญญา            
4.  การเรียนรู้            
5.  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์           
6.  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต 



ทักษะที่ได้รับ     
1. การอ่าน    
2. การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

การนำไปใชั     
1.การเลือกวิธีการนำเสนอ     
2.การทำงานร่วมกันผู้อื่น(การรับฟังความคิดเห็น)

บันทึกการเรียน




สัปดาห์ที่ 1
วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ 2556

กิจกรรม
  • การปฐมนิเทศน์นักศึกษาเรื่องการแต่งกาย และการเข้าชั้นเรียน
  • อาจารย์บอกข้อตกลงในรายวิชา 
  • อาจารย์อธิบายเรื่องการสร้างบล๊อค
เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้
  • ภาษา
  • คณิตศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
มาตรฐานที่ต้องคำนึกถึง
  • คุณภาพ 
  • ตัวชี้วัด
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ 
การนำไปประยุกต์ใช้
  • การนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปประยุกต์ใช้สอนเด็กให้ถุกวิะี
  • สามารถออกแบบสื่อการสอนไปสอนเด็กได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง